วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

จิตวิทยาการศึกษา

จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology)
                   .....การศึกษาพยายามที่จะช่วยเหลือคนในการปรับตัวได้อย่างดีที่สุดส่วนจิตวิทยาเป็นศาสตร์ คำนึงเกี่ยวกับการปรับตัวของคนดังนั้นจิตวิทยาการศึกษาจะเป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการปรับตัวของคนไปปฏิบัติจริงเพื่อช่วยเหลือในการปรับตัวดังนั้นหน้าที่สำคัญประการแรกคือการจัดการ เกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้ การเรียนการสอนซึ่งจะเป็นเรื่องราวทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา อันได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีแรงจูงใจ และทฤษฎีพัฒนาการ ลักษณะธรรมชาติผู้เรียน สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ตลอดจนวิธีการนำความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นไปประยุกต์ใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปช่วยในการปรับตัวให้ดีขึ้น
จิตวิทยา
                   จิตวิทยา (อังกฤษ: psychology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต) , กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์) , อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม
 จิตวิทยา (Psychology) คืออะไร

คำ ว่า Psychology (จิตวิทยา)มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก ๒ คำ ได้แก่ Psyche (Mind = จิตใจ) และ Logos (Knowledge = ศาสตร์ องค์ความรู้) ความหมายโดยรวมของ Psychology จึงหมายถึง ศาสตร์ ที่ศึกษาเรื่องพฤติกรรมของอินทรีย์ สิ่งมีชีวิตต่างๆ โดยเฉพาะมนุษย์เป็นสำคัญ เพื่ออธิบาย ทำความเข้าใจทำนาย และควบคุมพฤติกรรมนั้นๆได้
·  พฤติกรรมในแง่มุมของจิตวิทยา

พฤติกรรมในแง่มุมของจิตวิทยาหมายถึง กิริยาอาการทุกอย่างที่เรากระทำ โดยแบ่งออกได้เป็นสองประเภท ได้แก่

- พฤติกรรมภายนอก ได้แก่ กิริยาอาการที่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น กิน เดิน นอน นั่ง พูดคุย โอบกอด เป็นต้น
- พฤติกรรมภายใน ได้แก่ กิริยาอาการที่สังเกตไม่ได้ เช่น การคิด การฝัน การจำ อารมณ์ เป็นต้น

ประวัติความเป็นมาของจิตวิทยา       
                   จิตวิทยาได้เริ่มขึ้นโดยนักปราชญ์ชาวกรีก ชื่อ เพลโต และอริสโตเติล เพลโตเชื่อว่าการคิดและการใช้เหตุผลเท่านั้น ที่ทำให้คนเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เขาสามารถจะเข้าใจได้ โดยไม่สนใจวิธีการสังเกตหรือการทดลองใด ๆ แต่อริสโตเติลกลับเป็นนักสังเกตสิ่งรอบตัว เขาสนใจสิ่งภายนอกที่มองเห็นได้ การเข้าใจปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับคนต้องเริ่มด้วยการสังเกตอย่างมีระบบ
                   ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ศาสนาเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยแนวคิดทางศาสนาเน้นว่าจิตเป็นส่วนที่แยกออกจากร่างกาย
                   ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 การฟื้นฟูการสืบสวนโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการละทิ้งความเชื่อแบบเดิม ๆ มีการค้นหาความรู้ใหม่ ๆ วิธีการก็เริ่มมีลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอน กล่าวว่า ทฤษฎีให้แนวทาง การวิจัยให้คำตอบโดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญระหว่างทฤษฎีและการวิจัย
                   กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีกลุ่มแนวคิดที่สำคัญเกิดขึ้น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประจักษ์นิยมชาวบริเตน (British Empiricism) ที่เชื่อว่า ความรู้ผ่านเข้ามาทางสื่อกลางของความรู้สึก จิตเป็นที่รวมของความคิดเห็น นักจิตวิทยากลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดจิตวิทยากลุ่มสัมพันธนิยม (Associationistic Psychology) นักจิตวิทยาอีกกลุ่มหนึ่งกลับสนใจทางชีวภาพ เช่น ความแตกต่างระหว่างประสาทส่วนรับความรู้สึกกับประสาทส่วนการเคลื่อนไหว และ ลักษณะทางกายที่แสดงปฏิกิริยาสะท้อน (reflex) นักจิตวิทยากลุ่มนี้พยายามอธิบายการกระทำของมนุษย์ด้วยหลักการทางฟิสิกส์ คือ จิตฟิสิกส์ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพของสิ่งเร้ากับประสบการณ์รู้สึกที่ผู้ที่ถูกเร้ารายงานออกมา


ทฤษฎีทางจิตวิทยาได้เอามาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษาคือ
                   1. การผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม (Behavioral Learning Theory)ใช้ในการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีของกาเย่ ( Gagne ) ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ดังนี้- สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียน- แจ้งจุดประสงค์ บอกให้ผู้เรียนทราบถึงผลการเรียน เห็นประโยชน์ในการเรียน ให้แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียน- กระตุ้นให้ผู้เรียนทบทวนความรู้เดิมที่จำเป็นต่อการเชื่อมโยงไปหาความรู้ใหม่ เสนอบทเรียนใหม่ๆ ด้วยสื่อต่างๆ ที่เหมาะสม- ให้แนวทางการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมด้วยตนเอง ผู้สอนแนะนำวิธีการทำกิจกรรม แนะนำแหล่งค้นคว้าต่างๆ- กระตุ้นให้ผู้เรียนลงมือทำแบบฝึกปฏิบัติ- ให้ข้อมูลย้อนกลับ ผู้เรียนทราบถึงผลการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ- การประเมินผลการเรียนตามจุดประสงค์- ส่งเสริมความแม่นยำ การถ่ายโอนการเรียนรู้ โดยการสรุป การย้ำ การทบทวน
                   2. การจัดรูปแบบการเรียนการสอนจะใช้ทฤษฎีทางจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม มาใช้ในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีของ เลวิน (Lawin) ทฤษฎีสนาม มาใช้โดยการให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมกลุ่ม ได้เรียนรู้ในกลุ่ม เป็นการเรียนแบบร่วมมือเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน สามารถสรุปใจความสำคัญของทฤษฎีสนามในการจัดกิจกรรมกลุ่มได้ดังนี้
                   1. พฤติกรรมเป็นผลจากพลังความสัมพันธ์ของสมาชิกกลุ่ม
                   2. โครงสร้างกลุ่มเกิดจากการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีลักษณะแตกต่างกัน
                   3. การรวมกลุ่มแต่ละครั้งจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มเช่น ในรูปการกระทำ (act) ความรู้สึกและความคิด
                   4. องค์ประกอบต่างๆ ดังกล่าว จะก่อให้เกิดโครงสร้างของกลุ่ม แต่ละครั้งที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสมาชิกกลุ่ม5. สมาชิกกลุ่มจะมีการปรับตัวเข้าหากันและพยายามช่วยกันทำงานจะก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและทำให้เกิดพลังหรือแรงผลักดันของกลาง
ประโยชน์ของจิตวิทยาการศึกษามีดังต่อไปนี้
                   .....1. ช่วยให้ผู้สอนสามารถเข้าใจตนเอง พิจารณา ตรวจสอบตนเอง ทั้งในด้านดีและข้อบกพร่อง รวมทั้งความสนใจ ความต้องการ ความสามารถ ซึ่งจะทำให้สามารถคิด และตัดสินใจกระทำสิ่งต่าง ๆได้อย่างเหมาะสม
                   .....2. ช่วยให้ผู้สอน เข้าใจทฤษฎีวิธีการใหม่ ๆ และสามารถนำความรู้เหล่านั้น มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนนำเทคนิคการใช้ได้เหมาะสมและเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง เช่นใน การเรียนสิ่งที่เป็นนามธรรมผู้สอนจำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์เพื่อประกอบการสอนเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
                   .....3. ช่วยให้ผู้สอนเข้าใจธรรมชาติความเจริญเติบโตของผู้เรียนและสามารถจัดการเรียน การสอนให้เหมาะสม กับธรรมชาติ ความต้องการ ความสนใจ ของผู้เรียนแต่ละวัยได้
                   .....4. ช่วยให้ผู้สอน เข้าใจ และสามารถเตรียมบทเรียน วิธีสอน วิธีจัดกิจกรรมตลอดจนวิธีการวัดผล ประเมินผลการศึกษา ให้สอดคล้องกับความเจริญเติบโตของผู้เรียน ตามหลักการ
                   .....5. ช่วยให้ผู้สอน รู้จักวิธีการศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อหาทางช่วยเหลือแก้ปัญหา และส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนให้เป็นไปอย่างดีที่สุด
                   .....6.ช่วยให้ผู้สอนมีสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถทำงานกับผู้เรียนได้อย่างราบรื่น
                   .....7. ช่วยให้ผู้บริหารการศึกษา ได้วางแผนการศึกษา การจัดหลักสูตร อุปกรณ์การสอน และการบริหารได้อย่างถูกต้อง
                   .....8.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดีรู้จักจิตใจคนอื่นรู้ความต้องการความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับลักษณะเหล่านั้นได้ก็จะทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข
จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การที่เหมาะสมกับประเทศไทย :
โครงสร้างของจิตวิทยา
จิตวิทยาประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
                   ลักษณะเนื้อหาวิชา แบ่งเป็นเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ พัฒนาการของมนุษย์, พันธุกรรม, ระบบการตอบสนอง, การรับรู้, การรู้สึก, แรงจูงใจ, อารมณ์, ภาษา การคิด และการแก้ปัญหา, เชาวน์ปัญญาและการทดสอบเชาวน์ปัญญา, บุคลิกภาพแบบต่าง ๆ และการประเมินบุคลิกภาพ, รูปแบบต่างๆของพยาธิสภาพทางพฤติกรรม, จิตบำบัด, และจิตวิทยาชุมชน
เป้าหมายของจิตวิทยา เป้าหมายของการศึกษาได้มาจากวิธีการที่แตกต่างกัน 3 ประเภท ได้แก่
                   การวิจัยบริสุทธิ์หรือการวิจัยพื้นฐาน มาจากการค้นคว้าด้วยใจรัก ค้นหาหลักการของพฤติกรรมทั้งของมนุษย์และสัตว์ โดย ไม่ได้คำนึงว่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสังคมได้หรือไม่ ผู้วิจัยต้องเป็นผู้มีระเบียบแบบแผน มีจรรยาบรรณของนักวิจัย มีจริยธรรมและความเป็นกลางทางสังคม
                   การวิจัยประยุกต์ ให้ความสนใจในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ผลจากการวิจัยในปัญหานี้สามารถ นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ การวิจัยดังกล่าวต้องได้รับการวางแผนดำเนินการ ควบคุมวิธีการด้วยความระมัดระวัง การวิจัย บริสุทธิ์ก่อให้เกิดการวิจัยประยุกต์อย่างมีแบบแผน
                   การประยุกต์ใช้ เป็นการประยุกต์คำตอบที่ได้ ไปใช้ในสถานการณ์จริงๆ ในโลกซึ่งไม่มีการควบคุม สภาวะใดๆ นักจิตวิทยากลุ่มที่มีการประยุกต์ใช้มากที่สุด คือ นักจิตวิทยาคลินิก รองลงมาคือ นักจิตวิทยาการศึกษา
                   สถานที่ดำเนินงานทางจิตวิทยา นักจิตวิทยาสาขาต่างๆทำงานในสถานที่แตกต่างกัน บางสาขาทำวิจัยและสอนในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย บาง สาขาทำงานในคลินิกและโรงพยาบาล, ศูนย์บริการให้คำแนะนำปรึกษาต่างๆในโรงเรียน, บริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรม, ศูนย์สุขภาพจิต ศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ศูนย์พักฟื้นคนไข้ที่เพิ่งถูกส่งออกจากโรงพยาบาล ศูนย์บริการประชาชน เป็นต้น
·  จุดมุ่งหมายของจิตวิทยา

จาก ความหมายของคำว่า Psychology ที่ได้อธิบายไปข้างต้น จะเห็นได้ว่าจิตวิทยานั้นมีจุดมุ่งหมายในการศึกษาอยู่ 4 หลักใหญ่ๆ ได้แก่ ความต้องการการอธิบายทำความเข้าใจ ทำนาย และควบคุมพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตได้

- อธิบาย มีจุดมุ่งหมายที่จะอธิบายพฤติกรรมนั้นๆว่าเป็นอย่างไร มีอาการอย่างไร ผลเป็นอย่างไร
- ทำความเข้าใจ เจาะลึกลงไปในส่วนที่เป็นสาเหตุของพฤติกรรมหรือปัญหาที่เกิดขึ้น ว่ามีสาเหตุ ที่ไปที่มาอย่างไร
- ทำนาย มีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การทำนายโอกาสของการเกิดพฤติกรรมที่ศึกษาอยู่ เป็นการคาดการณ์โอกาสที่น่าจะเกิดของพฤติกรรมนั้นๆผ่านการทดสอบ ทดลองตามหลักวิทยาศาสตร์
- ควบคุม มีจุดมุ่งหมายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นไปตามที่ต้องการโดยการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข

คน โดยทั่วไปมักเข้าใจผิดว่านักจิตวิทยา "อ่านใจ" หรือ "ทำนายใจ" และสามารถ "ควบคุม" พฤติกรรมของบุคคลอื่นได้ตามใจนึก ซึ่งแท้จริงแล้วนักจิตวิทยาไม่สามารถอ่านถึงความคิดของตัวบุคคลได้ราวกับผู้ มีอิทธิฤทธิ์ หรือควบคุมบุคคลอื่นให้เป็นดั่งหุ่นเชิดได้

แท้จริง แล้วนั้น นักจิตวิทยานั้น "ทำนาย" พฤติกรรมของบุคคลจากการทดสอบ ทดลองทฤษฎีต่างๆ มากมายตามหลักวิทยาศาสตร์ มีการเก็บข้อมูล เก็บสถิติเพื่อใช้ในการวิเคราะห์วิจัยเพื่อหาโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรม ที่ศึกษาอยู่ และนักจิตวิทยาควบคุมพฤติกรรมโดยการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมรอบตัวบุคคล หรือตัวแปรต่างๆเพื่อลดปัญหาที่บุคคลนั้นๆกำลังเผชิญอยู่ เพื่อให้เกิดการพัฒนาการที่ดีขึ้น

หลักการสำคัญการสอน
                   1.  มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
                   2.  มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน
                   3.  มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
                   4.  มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน
ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
-  ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน
-  ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน
-  ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
-  ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเช่น แรงจูงใจ ความคาดหวัง เชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ
จิตวิทยาการศึกษา
 
กระบวนการเรียนรู้
 
     .ความมุ่งหมายของบทเรียน
     เพื่อให้เข้าใจกระบวนการพฤติกรรมและทฤษฎีการเรียนรู้ของมนุษย์ ที่นักจิตวิทยาด้านการเรียนรู้ได้ศึกษาค้นคว้าไว้ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่จะต้องมีการปะทะสังสรรค์ (Interaction) กับบุคคลและสิ่งแวดล้อม ซึ่งในภาวะดังกล่าวนั้นทำให้บุคคลเกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ ความคิด ทัศนคติและค่านิยม ฯลฯ อยู่ตลอดเวลาหรือตลอดชีวิต ซึ่งในสภาวะดังกล่าวเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มนุษย์จะต้องประสบอยู่ตั้งแต่ เกิดจนกระทั่งตายดังนั้นบุคคลจำต้องเรียนรู้ ศึกษาเพื่อให้ตนเองเกิดการปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลาเพื่อการดำรง ชีวิตที่ดีของตนเอง
 
     มนุษย์มีพัฒนาการของสมองและจิตที่ตอบสนองจากประสาทสัมผัสที่เกิดจากการเห็น  การได้ยิน การรู้รส การสัมผัส การได้กลิ่น ทำให้เกิดความจำ ความคิด การเปรียบเทียบ  การเรียนรู้   พัฒนาการ เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และสามารถสอนถ่ายทอดต่อเนื่องกันได้รวมทั้งมีความอยากรู้ อยากเห็น อยากพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาในสภาวะของมนุษย์ที่มีสมอง จิต และสุขภาพปกติ มนุษย์จึงเป็นผู้ คิด สร้าง  ทำ  ทั้งสร้างสรรค์และทำลายไว้บนโลกใบนี้อย่างมากมายมหาศาลและต่อเนื่องกันมาจากอดีต ปัจจุบันและในอนาคตไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
 
     ความหมายและขอบข่ายของการเรียนรู้
     การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ตลอดชีวิต คำจำกัดความที่นักจิตวิทยา มักจะกล่าวอ้างอยู่เสมอ  แต่ยังไม่ถึงกับเป็นที่ยอมรับกันอย่างสากล คือ คำจำกัดความของ คิมเบิล  (Gregory A Kimble)  
     คิมเบิล กล่าวว่าการเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงศักยภาพแห่งพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร ซึ่งเป็นผลมาจากการฝึกหรือการปฏิบัติที่ได้รับการเสริมแรง (Learning  as  a relatively  permanent change in behavioral potentiality that occurs as a result of reinforced practice) ”
 
     จากความหมายของการเรียนรู้ข้างต้นแยกกล่าวเป็นประเด็นสำคัญได้  ๕ ประการ คือ
     .  การที่กำหนดว่า การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ก็แสดงว่าผลที่เกิดจากการเรียนรู้จะต้องอยู่ในรูปของพฤติกรรมที่สังเกตได้ หลังจากเกิดการเรียนรู้แล้ว ผู้เรียนสามารถทำสิ่งหรือเรื่องที่ไม่เคยทำมาก่อนการเรียนรู้นั้น
     .  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้น ต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวร นั่นก็คือ  พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้นจะไม่เป็นพฤติกรรมในช่วงสั้นหรือเพียงชั่วครู่ และในขณะเดียวกันก็ ไม่ใช่พฤติกรรมที่คงที่ที่ไม่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไป
     .  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปอย่างทันทีทันใด แต่มันอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงศักยภาพ (Potential) ที่จะกระทำ สิ่งต่าง ๆ ต่อไปในอนาคต การเปลี่ยนแปลง    ศักยภาพนี้อาจแฝงอยู่ในตัวผู้เรียน ซึ่งอาจจะยังไม่ได้แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมอย่างทันทีทันใดก็ได้
     .  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือการเปลี่ยนแปลงศักยภาพในตัวผู้เรียนนั้นจะเป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกเท่านั้น  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือศักยภาพอันเนื่องมาจากสาเหตุอื่นไม่ถือเป็นการเรียนรู้
     .  ประสบการณ์หรือการฝึกต้องเป็นการฝึกหรือปฏิบัติที่ได้รับการเสริมแรง (Reinforced practice) หมายความว่า เพียงแต่ผู้เรียนได้รับรางวัลหลังจากที่ตอบสนอง  ก็จะให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นในแง่นี้คำว่ารางวัลกับตัวเสริมแรง” (Reinforce) จะให้ความหมายเดียวกัน ต่างก็คือหมายถึงอะไรบางอย่างที่อินทรีย์ (บุคคล) ต้องการ
 
     .ปัจจัยสำคัญในสภาพการเรียนรู้
     ในสภาพการเรียนรู้ต่างๆ ย่อมประกอบด้วยปัจจัยที่สำคัญ ๓ ประการ ด้วยกัน คือ 
        .  ตัวผู้เรียน (Learner)  
        .  เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เป็นตัวเร้า (Stimulus Situation)
        .  การกระทำหรือการตอบสนอง Action หรือ Response
                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                  
 
     ลำดับขั้นในกระบวนการเรียนรู้
     มูลลีย์ (George J. Mouly) กำหนดลำดับขั้นในกระบวนการเรียนรู้ไว้ ๗  ขั้น ดังนี้
 
     .  เกิดแรงจูงใจ (Motivation) เมื่อใดก็ตามที่อินทรีย์เกิดความต้องการหรืออยู่ในภาวะที่ขาดสมดุลย์ก็จะมีแรงขับ (Drive) หรือแรงจูงใจ (Motive) เกิดขึ้นผลักดันให้เกิดพฤติกรรมเพื่อหา สิ่ง ที่ขาดไปนั้นมาให้ร่างกายที่อยู่ในภาวะที่พอดี แรงจูงใจมีผลให้แต่ละคนไวต่อการสัมผัสสิ่งเร้าแตกต่างกันเป็นสิ่งที่จะกำหนด ทิศทางและความเข้มของพฤติกรรมและเป็นสิ่งจำเป็นเบื้องต้นสำหรับการเรียนรู้
 
     . กำหนดเป้าประสงค์ (Goal) เมื่อ มีแรงจูงใจเกิดขึ้นแต่ละบุคคลก็จะกำหนดเป้าประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความพึงพอ ใจ เป้าประสงค์จึงเป็นผลบั้นปลายที่อินทรีย์แสวงหา ซึ่งบางครั้งอาจจะชัดเจน บางครั้งอาจจะเลื่อนลอย บางครั้งอาจกำหนดขึ้นเพื่อสนองความต้องการทางสรีระหรือบางครั้งเพื่อสนอง ความต้องการทางสังคม
 
    . เกิดความพร้อม (Readiness) คน แต่ละคนมีขีดความสามารถที่จะรับ และความต้องการพื้นฐานเพื่อที่จะเสาะแสวงหาความพอใจ หรือหาสิ่งที่จะสนองความต้องการได้จำกัดและแตกต่างกันไปตามสภาพความพร้อมของ แต่ละบุคคล   เช่น  เด็กทารกซึ่งมีความเจริญทาง สรีระยังไม่มากก็จะไม่พร้อมที่จะเรียนรู้วิธีการหาอาหารด้วยตนเองได้ เด็กที่ร่างกายอ่อนแอหรือมีความบกพร่องของอวัยวะบางส่วนก็จะไม่พร้อมในการ เล่นกีฬาบางอย่างได้ กล่าวได้ว่าสภาพความพร้อมในการเรียนของบุคคลนั้นจะต้องอยู่กับองค์ประกอบ อื่น ๆ หลายประการ อาทิเช่น   ความเจริญเติบโตของโครงสร้างทางร่างกาย  การจูงใจ  ประสบการณ์ด้วย เป็นต้น เรื่องของความพร้อมนี้นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นมากที่จะต้องดีก่อนที่จะเกิดการเรียนรู้
 
    .  มีอุปสรรค (Obstacle) อุปสรรค จะเป็นสิ่งขวางกั้นระหว่างพฤติกรรมที่เกิดจากแรงจูงใจกับเป้าประสงค์ ถ้าหากไม่มีอุปสรรค์หรือสิ่งกีดขวางเราก็จะไปถึงเป้าประสงค์ได้โดยง่าย ซึ่งเราก็ถือว่าสภาพการณ์เช่นนี้ ไม่ได้ช่วยให้เกิดความต้องการที่จะแก้ปัญหาและเรียนรู้ ตรงกันข้ามการที่เราไม่สามารถไปถึงเป้าหมายได้จะก่อให้เกิดความเครียดและจะ เกิดความพยายามที่จะหาวิธีการแก้ปัญหาซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น
 
    .  การตอบสนอง (Response) เมื่อ บุคคลมีแรงจูงใจ มีเป้าประสงค์ เกิดความพร้อม และเผชิญกับอุปสรรคเข้าก็จะมีพฤติกรรมต่าง ๆ เกิดขึ้น พฤติกรรมนั้นอาจเริ่มด้วยการตัดสินใจ   เกิดอาการตอบสนองที่เหมาะสมทดลองทำแล้วปรับปรุงแก้ไขการตอบสนองนั้นให้แก้ปัญหาได้ดี ที่สุด ซึ่งแนวทางของการตอบสนองอาจมุ่งสู่เป้าประสงค์โดยตรงหรือโดยทางอ้อมอย่างใดอย่างหนึ่ง
 
    .  การเสริมแรง (Reinforcement) การ เสริมแรงก็หมายถึงการได้รางวัลหรือให้สิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความพอใจซึ่ง ปกติผู้เรียนจะได้รับหลังจากที่ตอบสนองแล้ว ตัวเสริมแรงไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของหรือวัตถุที่มองเห็นได้เสมอไป เพราะความสำเร็จ ความรู้ ความก้าวหน้า ฯลฯ ก็เป็นตัวเสริมแรงได้เช่นเดียวกัน
 
    .๗ การสรุปความเหมือน (Generalization) หลัง จากที่ผู้เรียนสามารถตอบสนองหรือหาวิธีการที่จะมุ่งสู่เป้าประสงค์ได้แล้ว เขาก็อาจจะประสงค์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์ที่จะพบในอนาคตได้นั้นก็แสดงว่า ผู้เรียนเกิดความสามารถที่จะสรุปความเหมือนระหว่างสถานการณ์การเรียนรู้ที่ มีมาก่อนกับปัญหาหรือสถานการณ์ที่เพิ่งจะพบใหม่ ซึ่งเป็นการขยายขอบเขตของพฤติกรรม การเรียนรู้ให้กว้างขวางออกไป
     .ชนิดของการเรียนรู้
     แกนเย (Gane) ได้แบ่งการเรียนรู้ออกเป็น ๘ ประเภท นับตั้งแต่การเรียนรู้แบบพื้นฐานไปจนถึงการเรียนรู้ที่ซับซ้อน ดังนี้
     .   การเรียนรู้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ (Signal learning)
     .   การเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง (Stimulus Response Learning) เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะเชื่อมโยง (Connection) การ ตอบสนองที่เหมาะสมต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ โดยที่เมื่อได้ตอบสนองอย่างถูกต้องหรือเหมาะสมก็จะได้รับรางวัล หรือตัวเสริมแรง หรือเกิดความพอใจ หรืออยากตอบสนองเช่นนั้นซ้ำ ๆ การเรียนรู้แบบนี้ต่างจากการเรียนรู้แบบแรกเพราะการตอบสนองการเรียนรู้ใน ลักษณะนี้เกิดขึ้นด้วยความจงใจ ส่วนแบบแรกการตอบสนองเกิดขึ้นโดยไม่จงใจและการเรียนรู้แบบนี้จะเกี่ยวข้อง กับกระบวนการทางสมองที่สูงกว่า ลักษณะสำคัญของการเรียนรู้ดังกล่าวอาจสรุปได้เป็นข้อ ๆ ดังนี้
 
       ) การเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า และการตอบสนองจะค่อย ๆ พัฒนาขึ้น ทีละน้อย
       การตอบสนองของผู้เรียนที่แสดงตอบโต้สิ่งเร้านั้นจะเป็นการตอบสนองที่     ผู้เรียนมีความมั่นใจมากขึ้นตามโอกาสที่ได้กระทำซ้ำ ๆ
       การ เรียนรู้แบบนี้ จะเป็นการเชื่อมโยงการตอบสนองบางอย่างต่อสิ่งเร้าเฉพาะอย่าง สิ่งเร้าอื่น ๆ จะไม่มีความหมายที่จะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นเดียวกับที่ได้ตอบโต้สิ่งเร้า เฉพาะอย่างนั้น
        ) สิ่งสำคัญที่เกี่ยวกับการเรียนรู้แบบนี้  ก็คือ รางวัลหรือตัวเสริมแรง   คือ ว่ารางวัลจะทำให้ผู้กระทำเกิดความพอใจ และเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นซ้ำอีกในทางตรงข้าม เราจะไม่ให้รางวัลต่อการตอบสนองที่เราไม่ต้องการ    ซึ่งจะมีผลให้การตอบสนองที่เราไม่ต้องการนั้นค่อย ๆ ลดและยุติลงในที่สุด
      จะเห็นว่าการเรียนรู้แบบนี้มีลักษณะคล้าย ๆ    กับการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูกของ
ธอร์นไดค์ (Thorndike) และการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของ สกินเนอร์ (Skinner) นั่นเอง
     
     .  การเรียนรู้ด้านทักษะหรือด้านกลไก  ( Skill Learning ) หรือ (Motor  training) เป็น การเรียนรู้ทำนองเดียวกับแบบที่ ๒ แต่มีความซับซ้อนมากขึ้น เพราะประกอบด้วยความสัมพันธ์ และการตอบสนองตั้งแต่ ๒ คู่ขึ้นไป และเห็นการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า และการตอบสนองในรูปของการใช้กลไกของกล้ามเนื้อและทักษะ  ตัวอย่างเช่น เด็กที่จะเรียนรู้การเปิดประตูก็จะมีลำดับของกิจกรรมต่อเนื่องเป็นสายโซ่  ดังนี้     มีพวงกุญแจอยู่ในมือ เลือกลูกกุญแจที่จะใช้ขึ้นมาสอดใส่เข้าไปในลูกบิดหมุนลูกกุญแจจนหมดเสียงแกร๊กแล้วก็ผลักประตูให้เปิดออก
      
     .  การเรียนรู้ความสัมพันธ์ด้านถ้อยคำ (Verbal Association) การ เรียนรู้แบบนี้คล้ายกับแบบที่ ๓ แต่ต่างกันที่การตอบสนองต่อสิ่งเร้าในแบบที่ ๑ เป็นการใช้กลไกกล้ามเนื้อ ส่วนแบบที่ ๔ เป็นเรื่องของการใช้ถ้อยคำ  การเรียนรู้แบบนี้เป็นความสำคัญของภาวะภายในมากกว่าแบบที่ ๓
     
     .๕ การเรียนรู้เพื่อแยกความแตกต่าง ( Discrimination Learning) เป็น การเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะต้องแยกความแตกต่างระหว่างสิ่งเร้า เพื่อจะตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้นให้ถูกต้อง การเรียนรู้ที่จะมีเรื่องการจัดการสัมผัสเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ตัวอย่างของการเรียนรู้แบบนี้ก็ได้แก่การที่ครูซึ่งสอนในชั้นเรียนสามารถ เรียกชื่อผู้เรียนแต่ละคนได้ถูกต้อง นักเรียนจะเรียนรู้ความแตกต่างของ               พืช สัตว์ และสารเคมี หรือหินชนิดต่าง ๆ  ซึ่งมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันได้  เด็กเล็ก ๆ เรียนรู้ที่จะแยกความแตกต่างของสี รูปร่างของสิ่งของ อักษร  คำ  จำนวน  สัญลักษณ์เป็นต้น
     การ เรียนรู้เพื่อแยกความแตกต่างนี้อาจเป็นการเรียนรู้เพื่อแยกความแตกต่าง ระหว่างสายโซ่ของความสัมพันธ์ของสิ่งเร้า และการตอบสนองตั้งแต่    คู่ขึ้นไป
       
     .  การเรียนรู้สังกัป ( Concept Learning) การเรียนรู้สังกัปเป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียน จะจัดประเภทของสิ่งเร้าโดยพิจารณาจากคุณสมบัติต่าง ๆ   เกี่ยวกับสี ,  รูปร่าง , ขนาด , จำนวน ฯลฯ เป็นหลัก ผู้เรียนต้องเรียนรู้สิ่งที่คล้ายกัน สามารถสรุปความเหมือนและแยกความแตกต่างของสิ่งเร้ามีข้อสังเกตว่าการเรียน รู้สังกัปนี้ การตอบสนองของผู้เรียนไม่ได้เป็นการเชื่อมโยงกับลักษณะทางกายภาพของสิ่งเร้า เฉพาะอย่าง หากแต่จะเป็นการเชื่อมโยงกับคุณสมบัติทางนามธรรมของสิ่งเร้านั้น ๆ    แกนเยถือว่าการเรียนรู้แบบต่างๆ ที่กล่าวมาทั้ง    ประเภทข้างต้นจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ชนิดนี้
   
     .   การเรียนรู้กฎหรือหลักการ (Rule Learning หรือ Principle Learning) กฎ (Rule) หรือหลักการ (Principle) เป็นสายโซ่ของความสัมพันธ์ของสังกัป(Concept) ตั้งแต่ ๒ อย่างขึ้นไป เช่น เมื่อเกิดสังกัปความยาวของเส้นตรง และเกิดสังกัปเกี่ยวกับความยาว ความกว้างของสี่เหลี่ยม เราก็สามารถตั้งเป็นกฎของการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมในรูปของความสัมพันธ์ ระหว่างความยาว และความกว้างได้ ตัวอย่างของกฎอื่น ๆ หรือในวิชาพีชคณิต  xa + xb = x (a + b) เป็นต้น
   
     .๘ การเรียนรู้การแก้ปัญหา  (Problem Solving) ใน ชีวิตของเรานั้นเราจะต้องคิดค้นสิ่งต่าง ๆ เพื่อตั้งเป็นกฎหรือหลักการเพื่อจะนำไปใช้ควบคุมหรือแก้ปัญหาต่างๆ ในสภาพแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่ตลอดเวลา บางครั้งมนุษย์เราก็จะนำกฎง่าย ๆ ที่มีอยู่นั้นมาสัมพันธ์กันเป็นกฎใหม่ที่ซับซ้อนขึ้น ซึ่งการรวมกันเป็นกฎใหม่ดังกล่าวนับว่าจำเป็นมากที่จะใช้ในการแก้ปัญหาใหม่ ๆ 
      การแก้ปัญหา หมายถึง การคิดหรือการขยายความคิดออกไปเพื่อหากฎใหม่ ๆ  (ซึ่งอาจเกิดจากการรวมกฎที่มีอยู่ก่อนเข้าเป็นความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่นั้นเอง) ฉะนั้นจะเห็นว่าการแก้ปัญหาเป็นการเรียนรู้ที่ต้องอาศัยความคิด การแก้ปัญหาและการคิดจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก นอกจากนี้แล้วการแก้ปัญหาต้องอาศัยสังกัป (Concept) และกฎที่เคยมีประสบการณ์มาก่อนเป็นพื้นฐานสำคัญ จึงสามารถแก้ปัญหาใหม่ ๆ ได้
      จะ เห็นว่านักจิตวิทยาพยายามแบ่งการเรียนรู้ออกเป็นประเภทต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน ซึ่งยังมีอีกหลายท่านที่แบ่งประเภทของการเรียนรู้แตกต่างจากที่กล่าวมา อย่างไรก็ตาม ชนิดของการเรียนรู้ที่นักจิตวิทยาส่วนใหญ่มีความเห็นพ้องกันนั้นอาจจำแนกออก ได้เป็นประเภทใหญ่ๆ   ได้    แบบ
ด้วยกัน คือ
                )การเรียนรู้สังกัป
                )การเรียนรู้ทักษะ
                )การเรียนรู้เจตคติ
                )การเรียนรู้การแก้ปัญหา และการคิด
 
      ในจำนวนการเรียนรู้ทั้ง    ประเภทนี้ การเรียนรู้สังกัปและทักษะจะเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าการเรียนรู้เจตคติความซาบซึ้ง และการเรียนรู้การแก้ปัญหาและการคิด
      - การเรียนรู้สังกัปช่วยพัฒนาบุคคลให้เกิดความรอบรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์และปัญหาวิชาต่าง ๆ
      - การเรียนรู้ทักษะช่วยให้เกิดความคล่องแคล่วทางกลไก และทำให้ผลการกระทำมีประสิทธิภาพ
      - การ เรียนรู้เจตคติและความซาบซึ้งจะมีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกและแรงจูงใจนับเป็น รากฐานของการที่จะพัฒนาคนให้มีความฝักใฝ่ค้นคว้าหรือที่จะทำให้เกิดทักษะและ สังกัป
      - การเรียนรู้การแก้ปัญหาและการคิดจะเป็นรากฐานที่จะพัฒนาบุคคลให้สามารถแก้ปัญหา การปรับตัวและปรุงแต่งให้เป็นบุคคลประเภทสร้างสรรค์ (Creative people) ที่สังคมปรารถนา ทฤษฎีการวางเงื่อนไข   ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง ( Associative theories) นั้น อาจจำแนกออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้สองกลุ่มด้วยกัน คือ ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning theories) กับทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism theories) ซึ่งในช่วงแรกนี้จะกล่าวถึงทฤษฎีการวางเงื่อนไขที่สำคัญ ๒ ทฤษฎี คือ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของ พาฟลอฟ (Pavlov Classical Conditioning  หรือ  Type S. Conditioning)  และทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของ สกินเนอร์ (Skinner’s operant Conditioning Instrumental   Conditioning หรือ Type   S. Conditioning)
จิตวิทยากับผู้เรียน ()  โครงสร้างของร่างกาย
โครงสร้างของร่างกายมนุษย์  ประกอบด้วยกลุ่มเซลที่เรียกว่า เนื้อเยื่อและอวัยวะ  การทำงานของกล้ามเนื้อทำให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายมีความเคลื่อนไหว  การทำงานของต่อมต่างๆ ในร่างกายมีผลต่อการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์  ระบบประสาทควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและต่อมและมีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์โดยตรง
จิตวิทยากับผู้เรียน ()
วุฒิภาวะ  ความพร้อม  ความต้องการ  การรับรู้  อารมณ์ และการจำการลืม ของบุคคลมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคล
วุฒิภาวะ  เป็นระดับความเจริญเติบโตสูงสุดของพัฒนาการด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคม  และ  สติปัญญาของบุคคลในแต่ละวัยที่เป็นไปตามธรรมชาติ  ไม่ขึ้นอยู่กับการฝึกหรือสภาวะแวดล้อม               การที่จะสอนให้บุคคลใดแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์จำเป็นจะต้องให้บุคคลนั้นมีวุฒิภาวะเป็นประการแรก  และยิ่งถ้าบุคคลเกิดความต้องการหรือความสนใจที่จะเรียน  พร้อมทั้งพอมีความรู้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนอยู่ด้วยก็ย่อมช่วยให้บุคคลมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามที่ต้องการได้รวดเร็วขึ้น 
เรียกว่า  บุคคลมีความพร้อมที่จะเรียน
ความพร้อมของบุคคลขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะและสภาพการณ์แวดล้อม
ความต้องการของบุคคลประกอบด้วยความต้องการทางกายและความต้องการทางใจ  เมื่อบุคคลเกิดความต้องการย่อมมีผลก่อให้เกิดแรงผลักดันทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมเพื่อตองสนอง       ความต้องการ
ความต้องการทางกายเกิดขึ้นเมื่อร่างกายของบุคคลขาดสมดุลย์   ได้แก่  ความต้องการ อาหาร อากาศ น้ำ,  อุณหภูมิที่พอเหมาะ, การเคลื่อนไหว, การเปลี่ยนแปลง, การขับถ่าย, ประสาทสัมผัสและ        การพักผ่อน
ความต้องการทางใจ  ได้แก่  ความต้องการความรักความอบอุ่น, ความปลอดภัย, การเป็นที่         ยอมรับของกลุ่มหรือสังคม, ความเป็นอิสระ
การรับรู้ คือกระบวนการที่บุคคลรับสัมผัสสิ่งเร้าแล้วใชประสบการณ์หรือความรู้เดิมแปลความหมายของสิ่งเร้าที่รับสัมผัสนั้น   การรับรู้ของบุคคลขึ้นอยู่กับสิ่งเร้าที่จะรับรู้  อวัยวะรับสัมผัสหรือความรู้สึกสัมผัสของผู้รับรู้และประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับสิ่งเร้าที่ได้สัมผัส
สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ของบุคคล  ได้แก่  ลักษณะของสิ่งเร้า  และลักษณะของบุคคลที่จะรับรู้
ลักษณะของสิ่งเร้า  ได้แก่  ความเข้มของสิ่งเร้า  ความเคลื่อนไหวหรือความเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้า  ความซ้ำซากของสิ่งเร้า
ลักษณะของบุคคลที่จะรับรู้  ได้แก่  การทำหน้าที่ของอวัยวะรับสัมผัส  และ  ความตั้งใจที่จะรับรู้
การเกิดอารมณ์และการควบคุมพฤติกรรมเมื่อเกิดอารมณ์เป็นผลจากทั้งวุฒิภาวะและการได้รับประสบการณ์  อารมณ์มีส่วนกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
อารมณ์ที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจ  มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมในลักษณะยอมรับ หรือเข้าหา
อารมณ์ที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจ  มีผลทำให้บุคคลต่อต้านหรือถอยหนี
อารมณ์มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ  เช่น  การทำงานของกล้ามเนื้อ  การทำงานของต่อมต่างๆ   การเต้นของหัวใจ  การหดหรือขยายของม่านตา  การบีบตัวของกระเพาะและลำไส้  การไหลเวียนของโลหิต
การจำและการลืมมีทั้งส่วนที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้
การจำ คือ การที่บุคคลสามารถรักษาความรู้หรือประสบการณ์ที่เคยได้รับและสามารถนำออกมาบอกเล่าหรือใช้ประโยชน์ได้อีก
การลืม คือ การที่บุคคลไม่สามารถเก็บสะสมสิ่งที่เรียนหรือประสบการณ์ที่เคยได้รับไว้ได้
ส่วนประกอบที่ทำให้เกิดความจำ  ได้แก่  เนื้อหาที่มีความหมาย  การจัดระบบความรู้เข้าเป็น        หลักการหมวดหมู่  การเรียนให้รู้แจ้งเห็นจริง  การจำเป็นหน่วย  และวิธีการเรียนที่ดี
ส่วนประกอบที่ทำให้เกิดการลืม  ได้แก่  การขาดการฝึกฝนหรือทบทวน  การเรียนเรื่องที่คล้ายกันในเวลาติดต่อกันจนเกิดความสับสน  การเลือนหายไปเองเนื่องจากเวลาผ่านไป  การจงใจลืม
จิตวิทยากับผู้สอน  ประกอบด้วย  บุคลิกภาพของผู้สอน  การปฏิบัติตนเป็นตัวแบบ                   การเสริมแรงและการลงโทษ
 1. จิตวิทยากับการพัฒนาหลักสูตร จิตวิทยานำมาพัฒนาหลักสูตร 2 แขนง คือ
             1) จิตวิทยาพัฒนาการ นำมาพัฒนาหลักสูตรในด้าน 1) การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร 2) การกำหนดระยะเวลาความสนใจของเด็กหรือคาบเวลาในการเรียนรู้ 3) การกำหนดเกณฑ์อายุมาตรฐานของการเข้าเรียน ต้องคำนึงถึงความพร้อมของเด็กทั้งทางร่างกายและสติปัญญา 4) การจัดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ ซึ่งจะต้องยึดลำดับความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความยากง่าย ความสลับซับซ้อนของเนื้อหาทำให้พอเหมาะกับวัยของผู้เรียนด้วย
            2) จิตวิทยาการเรียนรู้ เป็นจิตวิทยาว่าด้วยเรื่องธรรมชาติ ของการเรียนรู้และองค์ประกอบต่างๆ มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ การคิด และการแก้ปัญหา จิตวิทยาแขนงนี้จะช่วยให้ทราบว่ามนุษย์เราเรียนรู้ได้อย่างไร ทำอย่างไรจึงเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีปัจจัยอะไรบ้างที่มีอิทธิพลทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้เร็วหรือช้า เป็นต้น
          2. จิตวิทยากับการจัดการเรียนการสอน
              1) จิตวิทยากับครู จากทัศนะของนิสิตหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาชีพครู สามารถวิเคราะห์ความสำคัญของจิตวิทยากับครู ดังนี้
                  (1) ช่วยให้ครูสามารถเข้าใจตนเองพิจารณา ตรวจสอบตนเอง ทั้งในด้านดีและข้อบกพร่อง รวมทั้งความสนใจ ความต้องการ ความสามารถ ซึ่งจะทำให้สามารถคิด และตัดสินใจกระทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
                  (2) ช่วยให้ครู เข้าใจทฤษฎี วิธีการใหม่ๆ และสามารถนำความรู้เหล่านั้นมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนนำเทคนิคการใช้ให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง เช่น ในการเรียนสิ่งที่เป็นนามธรรม ครูจำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์เพื่อประกอบการสอนเข้าใจง่ายขึ้น
                  (3) ช่วยให้ครูเข้าใจธรรมชาติ ความเจริญเติบโตของผู้เรียน และสามารถจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับธรรมชาติ ความต้องการ ความสนใจของผู้เรียนแต่ละวัยได้
                  (4) ช่วยให้ครูเข้าใจและสามารถเตรียมบทเรียน วิธีสอน วิธีจัดกิจกรรม ตลอดจนวิธีการวัดผล ประเมินผลการศึกษา ให้สอดคล้องกับความเจริญเติบโตของผู้เรียนตามหลักการ
                  (5) ช่วยให้ครู รู้จักวิธีการศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อหาทางช่วยเหลือ แก้ปัญหา และส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนให้เป็นไปอย่างดีที่สุด
                  (6) ช่วยให้ครูมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้เรียน มีความเข้าใจและสามารถทำงานกับผู้เรียนได้อย่างราบรื่น
                  (7) ช่วยให้ครูนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนและผู้เรียนมาจัดรูปแบบ โดยการนำทฤษฎีและหลักการไปใช้
                  (8) ช่วยให้ครู เข้าใจหลักปฏิบัติ หรือการปฏิบัติตัวในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นตามความเชื่อถือหรือทฤษฎีการเรียนรู้ที่ตนเองเข้าใจและนิยมที่จะปฏิบัติ เช่น การเรียนจากการสังเกตหรือการเลียนแบบ
                  (9) ช่วยให้ครูสามารถตัดสินใจเลือกกิจกรรมและวิธีการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม และที่สำคัญก็คือ ทฤษฎีการเรียนรู้จะช่วยให้ครูสามารถคาดการณ์ได้ว่า ควรจะปฏิบัติการณ์อย่างไรให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
                  (10) ช่วยให้ครูนำความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นไปประยุกต์ใช้ ปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถนำความรู้ไปช่วยในการปรับตัวให้ดีขึ้น   
                  (11) ช่วยให้ครูรู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียนที่ครูต้องสอน โดยทราบหลักพัฒนาการทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และบุคลิกภาพเป็นส่วนรวม
                  (12) ช่วยให้ครูมีความเข่าใจพัฒนาการทางบุคลิกภาพบางประการของผู้เรียน เช่น อัตมโนทัศน์ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และเรียนรู้ถึงบทบาทของครูในการที่ช่วยผู้เรียนให้มี         อัตมโนทัศน์ที่ดีและถูกต้องได้อย่างไร
                  (13) ช่วยครูให้มีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อจะได้ช่วยผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้พัฒนาตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
                  (14) ช่วยให้ครูรู้วิธีจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนให้เหมาะสมแก้วัยและขั้นพัฒนาการของนักเรียน เพื่อจูงใจให้นักเรียนมีความสนใจและมีความที่อยากจะเรียนรู้
                  (15) ช่วยให้ครูทราบถึงตัวแปรต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น แรงจูงใจอัตมโนทัศน์ และการตั้งความคาดหวังของครูที่มีต่อผู้เรียน
                  (16) ช่วยครูในการเตรียมการสอนวางแผนการเรียน เพื่อทำให้การสอนมีประสิทธิภาพสามารถช่วยให้นักเรียนทุกคนเรียนตามศักยภาพของแต่ละบุคคล โดยคำนึงถึงหัวข้อต่อไปนี้
                        (16.1) ช่วยครูเลือกวัตถุประสงค์ของบทเรียนโดยคำนึงถึงลักษณะนิสัยและความแตกต่าง ระหว่างบุคคลของนักเรียนที่จะต้องสอน และสามารถที่จะเขียนวัตถุประสงค์ให้นักเรียนเข้าใจว่าสิ่งคาดหวังให้นัก เรียนรู้มีอะไรบ้าง โดยถือว่าวัตถุประสงค์ของบทเรียนคือสิ่งที่จะช่วยให้นัก เรียนทราบ เมื่อจบบทเรียนแล้วนักเรียนสามารถทำอะไรได้บ้าง
                         (16.2) ช่วยครูในการเลือกหลักการสอนและวิธีสอนที่เหมาะสม โดยคำนึงลักษณะนิสัยของผู้เรียนและวิชาที่สอน และกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
                         (16.3) ช่วยครูในการประเมินไม่เพียงแต่เฉพาะเวลาครูได้สอนจนจบบทเรียนเท่านั้นแต่ใช้ประเมินความพร้อมของผู้เรียนก่อนสอน ในระหว่างที่ทำการสอน เพื่อทราบว่านักเรียนมีความก้าวหน้าหรือมีปัญหาในการเรียนรู้อะไรบ้าง
                  (17) ช่วยครูให้ทราบถึงหลักการสอนและวิธีสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งพฤติกรรมของครูที่มีการสอนอย่างมีประสิทธิภาพว่ามีอะไรบ้าง เช่น การใช้คำถาม การให้แรงเสริม และการทำตนเป็นต้นแบบ
                  (18) ช่วยครูให้ทราบว่าผู้เรียนที่มีผลการเรียนดีไม่ได้เป็นเพราะระดับเชาวน์ปัญญาเพียงอย่างเดียว แต่มีองค์ประกอบอื่นๆ เช่น แรงจูงใจ ทัศนคติหรือ อัตมโนทัศน์ของผู้เรียนและความคาดหวังของครูที่มีต่อผู้เรียน
                  (19) ช่วยครูในการปกครองชั้นและการสร้างบรรยากาศของห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้และเสริมสร้างบุคลิกภาพของผู้เรียน ครูและผู้เรียนมีความรักและไว้วางใจซึ่งกันและกันความช่วยเหลือกันและกันของผู้เรียน ทำให้ห้องเรียนเป็นสถานที่ที่ทุกคนมีความสุขและผู้เรียนรักโรงเรียน อยากมาโรงเรียน
            2) จิตวิทยากับผู้เรียน จากทัศนะของนิสิตหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาชีพครู สามารถวิเคราะห์ความสำคัญของจิตวิทยากับผู้เรียน ดังนี้
                  (1) ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจลักษณะธรรามชาติของมนุษย์ ลำดับขั้นพัฒนาการชีวิตในแต่ละช่วงวัย และทราบถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย
                  (2) ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการยอมรับ เข้าใจตนเองและผู้อื่น เข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล สามารถปรับตัวให้เข้ากับบุคคลในวัยต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถช่วยเหลือบุคคลวัยต่างๆ ในแนวทางที่เหมาะสมยิ่งขึ้น
                  (3) ช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี รู้จักจิตใจคนอื่น รู้ความต้องการความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับลักษณะเหล่านั้นได้ ซึ่งทำให้ผู้เรียนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข

จิตวิทยากับชีวิตประจำวัน



1. ความหมายและความสำคัญของจิตวิทยาในชีวิตประจำวัน

คนเราเกิดมามีชีวิตอยู่กับคน
    เรียนรู้  และทำงานร่วมกับคน
       ใช้สิ่งต่าง ๆ ในสังคม  ร่วมกับคน
                   มีชีวิตอยู่ได้ทุกวันนี้    ก็เพราะคน     ...

                จากคำกล่าวข้างต้นจะเห็นว่าทุกชีวิตจะต้องอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น  หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่าทุกคนต้องอาศัยซึ่งกันและกัน  การดำรงชีวิตอยู่ในสังคม  คนเราจะต้องดิ้นรนและมีพฤติกรรมต่าง ๆ ไม่มีสิ้นสุดการกระทำหรือที่เรียกว่าพฤติกรรมนี้เอง  เป็นสิ่งที่สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อศึกษาทางจิตวิทยา  และศึกษาบุคคลแต่ละคน  การกระทำของแต่ละบุคคลจะไม่เหมือนกัน  ทั้งนี้เพราะคนมีความคิด  และแรงจูงใจที่แตกต่างกัน
                ดังนั้นจิตวิทยาในชีวิตประจำวัน จึงหมายถึง  การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์  เพื่ออธิบาย  คาดการณ์  หรือควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์  เพื่อจะได้เข้าใจและสามารถนำชีวิตของเราให้ดำเนินไปได้อย่างเฉลียวฉลาด  และยังมีอิทธิพลต่อบุคคลอื่นที่อยู่ร่วมกับเราด้วย  ถ้าเรามีจิตวิทยาดี  เราย่อมจะเป็นที่พึ่งพาแก่ผู้อื่นได้  และถ้าเรามีความจำเป็นต้องไปขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น  เราก็ย่อมได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดีเช่นกัน
                จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน  มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของบุคคล  ดังต่อไปนี้
                1. ช่วยให้เกิดความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์  เช่น  รู้ว่าอะไรเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์  มนุษย์เกิดความรู้สึกอย่างไรเมื่อไม่สามารถสนองตอบความต้องการของตนเองได้  และอะไรเป็นแรงผลักดันให้คนแสดงพฤติกรรมต่างกัน
                2. ช่วยในการปรับตัวและแก้ปัญหาทางจิตใจของตนเอง  เช่น รู้วิธีรักษาสุขภาพจิตของตนเอง  รู้วิธีเอาชนะปมด้อย  วิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้ง  และขจัดความวิตกกังวลต่าง ๆ ได้
                3. ช่วยให้เกิดการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและผู้อื่นได้ดีขึ้น  สามารถเข้าใจและรู้จักปรับตัวเองให้เข้ากับผู้อื่น
                ดังนั้นจะเห็นได้ว่าจิตวิทยามีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน  เราจึงควรเรียนรู้  และนำหลักจิตวิทยามาใช้  เพื่อชีวิตของเราจะมีความสุขและประสบความสำเร็จมากขึ้น  ในทางจิตวิทยาถือว่าผู้ที่สามารถใช้จิตวิทยาในการดำเนินชีวิต  ควรมีลักษณะดังนี้

                1. สนใจและเข้าใจในความคิด  ความรู้สึกของคนรอบข้าง
                2. รับรู้และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้อื่นได้ดี
                3. รู้  เข้าใจศักยภาพและส่งเสริมความรู้ความสามารถของผู้อื่นได้อย่างถูกทาง
                4. มีความจริงใจต่อกัน  เพราะความจริงใจเป็นรากฐานของความผูกพันที่ลึกซึ้ง

2. การดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
                คนที่มีความสุข  คือคนที่มีความสมหวัง  เป็นคนที่สามารถประกอบกิจการงานประสบความสำเร็จตามความปรารถนา  มีร่างกายแข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ  ไม่มีอารมณ์ขุ่นมัวหรือวิตกกังวล  มีอารมณ์มั่นคง  มีความอดทนและมีความสามารถต่อสู้อุปสรรคต่าง ๆ  ได้  เป็นคนที่ยอมรับความจริงในชีวิต  ทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
                กล่าวโดยสรุป  คนที่มีความสุขก็คือ  คนที่มีสุขภาพดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ  เป็นคนที่สามารถปรับตัวได้อย่างดีในการดำรงชีวิตประจำวัน
                ความสุขเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ  เป็นการมองชีวิต  มองตัวเอง  และมองผู้อื่น  ดังนั้นความสุขจึงเกิดขึ้นได้กับคนทุกชั้นไม่ว่า  ผู้ดี  มั่งมี  หรือยากจน  แนวความคิดทางด้านจิตวิทยาเกี่ยวกับการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข  อาจกล่าวสรุปได้เป็นข้อ ๆ  ดังนี้  คือ
                1. พยายามรักษาสุขภาพทางกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
                    เป็นที่ทราบกันแล้วว่า  สุขภาพทางกายและสุขภาพทางจิตมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิด  คนที่มีร่างกายแข็งแรง  สุขภาพดี  ย่อมมีจิตใจร่าเริง  สนุกสนาน  ตรงกันข้ามกับคนที่ไม่แข็งแรง  ย่อมเจ็บป่วยเสมอ  ทำให้มีอารมณ์หงุดหงิด  รำคาญใจ  ดังนั้นเราจึงควรรักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอโดยการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์  มีการพักผ่อนเพียงพอ  รักษาความสะอาดของร่างกายและเครื่องใช้  ตลอดจนหมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ
                2. รู้จักตนเองอย่างแท้จริง
                     ควรสำรวจตัวเองว่า  เป็นคนอย่างไร  มีความสามารถทางใด  แค่ไหน  มีความสนใจและต้องการสิ่งใด   มีอะไรเป็นข้อดีและข้อเสีย  พยายามทางแก้ไขข้อบกพร้องและส่งเสริมส่วนที่ดี  จะทำให้เราตั้งเป้าหมายของชีวิตได้เหมาะสมกับความเป็นจริง   ตลอดจนมีโอกาสพบกับความสำเร็จและความสมหวังได้มาก
               
                 3. จงเป็นผู้มีความหวัง
                   เราควรตั้งความหวังไว้เสมอ  แม้เวลาที่ตกต่ำก็อย่าทอดอาลัย  จงคิดหวังเสมอว่าเราจะไม่อยู่ในสภาพเช่นนี้ตลอดไป  สักวันหนึ่งเราอาจจะดีขึ้นได้
              4. ต้องกล้าเผชิญกับความกลัวและความกังวลใจต่าง   
                    ในชีวิตของเรานี้มีสิ่งต่าง ๆ มากมาย  ที่ทำให้กลัวเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก  ดังนั้น เมื่อรู้สึกกลัวอะไรต้องพยายามค้นหาความจริงว่าสิ่งนั้นคืออะไร  อย่าปล่อยจิตใจให้หวาดกลัวโดยไม่มีเหตุผล
              5. ไม่ควรเก็บกดอารมณ์ที่ตึงเครียด
                     ควรหาทางระบายอารมณ์ที่ขุ่นมัวหรือไม่สบายใจ  โดยหาทางออกในสิ่งที่สังคมยอมรับและเป็นไปในทางที่พึงปรารถนา
                6. จงเป็นผู้มีอารมณ์ขัน
                    การมีอารมณ์ขันช่วยให้มีอารมณ์ผ่อนคลาย  ไม่ควรมองการไกลในแง่เอาเป็นเอาตายมากเกินไป
                7. การยอมรับข้อบกพร่องและข้อผิดพลาดของตนเอง
                    การรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่นอย่างแท้จริง  จะช่วยให้เรายอมรับข้อบกพร่อง  หรือความผิดพลาดของตนเอง  และให้อภัยในความผิดพลาดของผู้อื่นได้
                8. ต้องรู้จักพอใจในสิ่งที่ตนทำอยู่
                    การรู้จักพอใจในงานหรือสิ่งที่ตนทำอยู่  จะทำให้บุคคลนั้นเกิดอารมณ์สนุก  ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ทำให้ชีวิตน่าสนใจ  มีความกระตือรือร้นในการทำงาน  มีกำลังใจเข้มแข็งในการต่อสู้อุปสรรคต่าง ๆ  มีอารมณ์ร่าเริงแจ่มใส  ทำให้ชีวิตมีความสุขและสดชื่นอยู่เสมอ
                9. มีความต้องการพอเหมาะพอควรและมีความยืดหยุ่นได้
                    ต้องมีเหตุผล  รู้จักความพอดีเกี่ยวกับความต้องการ  ความปรารถนา  ความทะเยอทะยาน  ควรมีความคิดใฝ่ฝันที่ใกล้เคียงกับความสามารถและความเป็นจริง  จะช่วยให้เราวางแผนต่าง ๆ  ไว้เป็นระยะ ๆ  เพื่อประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้
                10. อย่าพะวงเกี่ยวกับตนเองมากเกินไปหรืออย่าคิดถึงแต่ตัวเองตลอดเวลา
                     เช่น  คิดว่าตัวเองจะต้องเด่น  ต้องดี  ต้องสำคัญกว่าผู้อื่น  การคิดแต่เรื่องของตัวเองจะทำให้เราไม่มีความสุขเลย  เพราะไม่ว่าเราจะคิดอะไร  ทำอะไรหรือไปที่ไหน  จะต้องตกอยู่ในภาวะของการแข่งขันตลอดเวลา
                11. การยอมรับสภาพของตัวเองโดยไม่เปรียบเทียบกับคนอื่น
                     เพราะการเปรียบเทียบจะทำให้เราเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจว่า ทำไมเราจึงไม่โชคดีอย่างคนอื่น  แต่เราอาจไม่ทราบว่า  คนอื่นเขาก็มีความทุกข์เหมือนกัน
               


                   12. การยึดคติว่า  จะเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ
                     การทำสิ่งใดให้ใครโดยหวังผลตอบแทน  ย่อมจะทำให้ผิดหวังได้มากเพราะมัวแต่กังวลอยู่ว่าเราจะได้รับอะไรเป็นการตอบแทนหรือไม่  มากน้อยเพียงใด  เมื่อไม่ได้รับตามที่ตนคาดหวังก็จะผิดหวังทำให้ไม่มีความสุข  คิดว่าตนได้รับความอยุติธรรมอยู่เสมอ
                13. การหาเพื่อนสนิทสักคนหนึ่ง  หรือใครก็ได้ที่สามารถระบายความทุกข์และปรึกษาหารือได้   
                     เพราะการมีเพื่อนจะทำให้เรารู้สึกว่าไม่ได้ถูกทอดทิ้งให้อยู่คนเดียวในโลก
                14. จงปล่อยให้เหตุการณ์บางอย่างผ่านไปตามแนวทางของมัน
                      อย่าไปฝืนหรือเอาจริงเอาจังเกินไป  เมื่อทำอะไรไม่สำเร็จก็เกิดอารมณ์ตึงเครียด  จงหยุดพักเสียระยะหนึ่ง  แล้วค่อยหันกลับมาทำใหม่  หรือเปลี่ยนแนวทางการกระทำเสียใหม่
                15. จงตระหนักว่า   เวลาเป็นยารักษาความเจ็บปวด  เมื่อพลาดหวังหรือผิดหวัง
                       จงอดทนและมีความหวังต่อไป  ไม่ควรใช้วิธีถอยหนีหรือหลีกเลี่ยงปัญหาโดยการทำลายตัวเองต้องนึกไว้เสมอว่า  ถ้าเราปล่อยให้เวลาผ่านไปนานเท่าไหร่ก็ตาม   ความเจ็บปวดต่าง ๆ  จะค่อย ๆ  ลดน้อยลงและหายไปในที่สุด
                16. อย่าปล่อยให้เวลาว่างไปวันหนึ่ง ๆ  โดยไม่ทำอะไร
                      การปล่อยให้เวลาว่าง  จะทำให้คิดฟุ้งซ่าน  ต้องพยายามหางานอดิเรกที่ตนสนใจทำ  เช่น  ปลูกต้นไม้   เล่นกีฬา  อ่านหนังสือ  ฯลฯ  โดยเฉพาะงานอดิเรกที่เกี่ยวพันกับธรรมชาติ  จะช่วยบำรุงจิตใจให้ชีวิตมีความสุขสดชื่น  และมีความสงบ
                     ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงข้อเสนอแนะ  หรือแนวทางในการปฏิบัติตนอย่างกว้าง    การที่จะดำรงชีวิตอยู่ให้มีความสุขเพียงใดขึ้นอยู่กับบุคคลว่า  จะนำหลักการหรือแนวทางไปดัดแปลง    ปรับปรุงให้เหมาะสมกับตนแค่ไหน  เพียงใด  และจริงจังหรือไม่เป็นสิ่งสำคัญ